تسوق عروض عيد الحب
สมการการนอน Bed = Sleep + Sex จริงหรอ ?

สมการการนอน Bed = Sleep + Sex จริงหรอ ?

สมการการนอน Bed = Sleep + Sex จริงหรอ ?

ไขสูตรสมการ ที่นอน = นอน + เซ็กส์  

          ทุกคนรู้ว่าที่นอนคือพื้นที่ความสบายของหลาย ๆ คน เพราะเป็นที่พื้นที่ทำให้เราผ่อนคลายจากความเครียด ช่วยลดความเมื่อย ความเหนื่อยล้าจากชีวิตประจำวัน หลาย ๆ คนจึงชอบทำกิจกรรมอื่น ๆ บนที่นอน เช่น ดูหนัง เล่นมือถือ ทำงาน หรือแม้แต่รับประทานอาหาร เป็นต้น แต่รู้ไหมว่ากิจกรรมเหล่านี้ส่งผลต่อคุณภาพการนอนของคุณ 

          เนื่องจากสมองและร่างกายของคุณอาจไม่เชื่อมโยงการนอนกับที่นอนได้ ทำให้ร่างกายไม่รับรู้ว่าที่นอนเป็นพื้นที่สำหรับการพักผ่อน และส่งผลให้ช่วงเวลาที่ต้องการนอนจริง ๆ แล้ว ใช้ระยะเวลากว่าจะหลับนานกว่าปกติ นอกจากนี้การทำงานบนที่นอนอาจทำให้คุณปลดปล่อยความเครียด ความกังวลจากงานไม่ได้ 

ดังนั้นการให้ “ที่นอน” เป็นพื้นที่เฉพาะกิจกรรมนั้นมีดียังไง

ที่นอนเท่ากับนอนและเซ็กส์

1. ที่นอนเป็นพื้นที่แห่งการผ่อนคลาย 

          ไม่ว่าคุณจะไปไหน ทำอะไรมา สิ้นสุดของวันคุณก็ต้องจบลงด้วยพาตัวเองไปยังที่นอน เพราะฉะนั้นที่นอน เหมาะที่จะพักผ่อนร่างกายจากความเมื่อยล้า ความเหน็ดเหนื่อย 

2. ช่วยแยกเวลาทำงานและเวลาพักผ่อน 

          เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการพักผ่อน รู้ว่าเมื่อถึงเวลาเลิกงานแล้ว ไม่นำงานกลับมาทำบนที่นอนอีก ช่วยให้พักผ่อนได้อย่างเต็มที่ นอนหลับได้อย่างเต็มอิ่ม ไม่มีสิ่งกระตุ้นอยู่รอบตัว เป็นสร้างขอบเขตไว้อย่างชัดเจน  ไม่โหมทำงานจนล่วงเวลาพักผ่อน สร้างมีวินัยที่ดีในการนอน 

3. ลดความเครียดและความวิตกกังวล 

          การนอนอย่างมีคุณภาพต้องไร้ความเครียดหรือวิตกกังวล เมื่อถึงบนที่นอนแล้วไม่นำเรื่องราวหรือปัญหาต่าง ๆ เก็บมาคิดในหัว ทำหัวสมองให้โล่ง ปลอดโปร่ง ช่วยให้นอนหลับได้อย่างสบายใจ ลดปัญหานอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เพราะปัญหาด้านของสภาพจิตใจ ว้าวุ่นนั่นเอง

4. ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ 

          การนอนไม่ได้เพียงแค่เป็นการพักผ่อนจากความเหนื่อยล้าเท่านั้น แต่ยังเป็นช่วงเวลาที่ได้ฟื้นฟูและซ่อมแซมร่างกาย เมื่อเข้าสู่ช่วงการนอนหลับลึก ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ที่จะช่วย กระตุ้นการซ่อมแซมกล้ามเนื้อ สร้างเนื้อเยื่อกระดูก เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน จัดระเบียบความทรงจำ รักษาสมดุลของฮอร์โมนความอยากอาหาร รักษาสมดุลคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) จะลดลงในช่วงกลางคืน ช่วยให้ร่างกายพักฟื้นจากภาวะเครียดที่เกิดขึ้นในระหว่างวัน 

นอกเหนือจากการนอนแล้ว กิจกรรมที่ทำบนที่นอนแล้วไม่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนบ้าง ?  

ตอบ “เซ็กส์ที่ดี” แล้วเซ็กส์ที่ดีนั้นเป็นอย่างไร มาดูกัน

เซ็กส์ที่ดีมีอะไรบ้าง

เซ็กส์ที่ดี มีอะไรบ้าง?

  • การสื่อสารและการยินยอม ทั้งสองฝ่ายมีการพูดคุยกัน สบายใจซึ่งกันและกัน ไม่มีการบังคับหรือกดดัน
  • การเชื่อมต่อทางอารมณ์ สร้างความใกล้ชิดและความไว้วางใจ เพิ่มความพึงพอใจทางเพศ การเล้าโลม
  • ความมั่นใจและรักตนเอง ยอมรับตัวเอง รู้สึกมั่นใจและสบายใจในร่างกายของตัวเอง สร้างประสบการณ์ที่ดีกับฝ่ายตรงข้าม
  • ความสม่ำเสมอ การมีเพศสัมพันธ์เป็นประจำช่วยสานสัมพันธ์คู่รักให้ยั่งยืนในระยะยาว

ประโยชน์จากการมีเซ็กส์ที่ดี

การมีเซ็กส์ก่อนนอนมีประโยชน์หลาย ๆ อย่างมากกว่าที่คุณคิด

  • ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น การถึงจุดสุดยอดช่วยให้ผ่อนคลายและทำให้ง่วงนอน พร้อมหลับได้ง่าย

  • ลดความเครียดและความวิตกกังวล ช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลายก่อนนอน

  • ลดอาการปวด เมื่อมีเพศสัมพันธ์ร่างกายจะหลั่งสารเอนเดอร์ฟินช่วยบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง ปวดหัว ปวดประจำเดือน
  • กระชับความสัมพันธ์ของคู่รัก เสริมสร้างความใกล้ชิดให้แน่นแฟ้นขึ้น

  • เผาผลาญแคลลอรี โดยผู้ชายเผาผลาญได้ 100 แคลลอรี และผู้หญิงเผาผลาญได้ 69 แคลลอรี โดยเวลาเฉลี่ยที่ประมาณ 25 นาที

การส่งเสริมเซ็กส์กับการนอนให้ดีขึ้น

อะไรบ้างที่ส่งเสริมให้ “เซ็กส์” และ “การนอน” ได้คุณภาพไปพร้อม ๆ กัน 

ตัวช่วยในการทำกิจกรรม 

          ตัวที่ช่วยที่กระชับความสัมพันธ์ของคู่รักให้แน่นแฟ้นขึ้น “หมอนเสย” ซัปพอร์ตหนุนเอวและสะโพกเพื่อให้คู่รักทำกิจกรรมได้ในองศาที่ไม่เจ็บ ช่วยผ่อนแรง ลดความเหนื่อยง่าย ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เข้าถึงจุดสุดยอดได้ลึกขึ้น

สภาพแวดล้อมเหมาะสม 

เปลี่ยนบรรยากาศภายในห้องนอนให้เหมาะสม ทำให้คู่รักประทับใจ 

  • ลดเสียงรบกวน ปิดแจ้งเตือนโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ 

  • จัดระเบียบห้องนอน เก็บกวาดสิ่งยุ่งเหยิง ทำความสะอาด เก็บของให้เป็นระเบียบ

  • สร้างกลิ่นที่ผ่อนคลาย ใช้ก้านหอมหรือน้ำมันหอมระเหย เช่น ลาเวนเดอร์ 

สรุป 

          “ที่นอน” คือสถานที่ที่ใช้สำหรับนอนและเซ็กส์เท่านั้น ไม่ควรทำกิจกรรมอื่น ๆ บนเตียงหรือที่นอน เพราะจะช่วยทำให้คุณภาพการนอนดียิ่งขึ้น หลับง่าย หลับสนิทยิ่งขึ้น ช่วยผ่อนคลายความเมื่อยล้า ความเครียดหรือวิตกกังวล ฟื้นฟูซ่อมแซมร่างกายและจิตใจ 

          รวมถึง “เซ็กส์” ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพการนอน ทำให้นอนหลับง่ายขึ้น กระชับความสัมพันธ์ของคู่รักให้มีความสุขมากขึ้น ใช้ หมอนเสย ตัวช่วยที่เพิ่มความเพลิดเพลินต่อการทำกิจกรรมร่วมกัน ออกแบบเพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้องแทนการใช้หมอนอะไรก็ได้มาหนุนแทนซึ่งไม่พอดี ได้องศาที่ลดอาการบาดเจ็บและดีต่อสุขภาพ

  1. Consensus Conference Panel, Watson, N. F., Badr, M. S., Belenky, G., Bliwise, D. L., Buxton, O. M., Buysse, D., Dinges, D. F., Gangwisch, J., Grandner, M. A., Kushida, C., Malhotra, R. K., Martin, J. L., Patel, S. R., Quan, S. F., Tasali, E., Non-Participating Observers, Twery, M., Croft, J. B., Maher, E., … Heald, J. L. (2015). Recommended amount of sleep for a healthy adult: A joint consensus statement of the American Academy of Sleep Medicine and Sleep Research Society. Journal of Clinical Sleep Medicine, 11(6), 591–592.
  2. Basson, R. (2014, February). Overview of sexual dysfunction in women. MSD Manual Consumer Version., Retrieved February 25, 2021 from
  3. Hirsch, I. H. (2020, July). Overview of sexual dysfunction in men. Merck Manual Consumer Version., Retrieved February 25, 2021 from
  4. Briken, P., Matthiesen, S., Pietras, L., Wiessner, C., Klein, V., Reed, G. M., & Dekker, A. (2020). Estimating the prevalence of sexual dysfunction using the new ICD-11 guidelines. Deutsches Arzteblatt International, 117(39), 653–658.
  5. Kalmbach, D. A., Arnedt, J. T., Pillai, V., & Ciesla, J. A. (2015). The impact of sleep on female sexual response and behavior: A pilot study. The Journal of Sexual Medicine, 12(5), 1221–1232.
  6. Kohn, T. P., Kohn, J. R., Haney, N. M., Pastuszak, A. W., & Lipshultz, L. I. (2020). The effect of sleep on men’s health. Translational Andrology and Urology, 9(Suppl 2), S178–S185.
  7. Chen, K. F., Liang, S. J., Lin, C. L., Liao, W. C., & Kao, C. H. (2016). Sleep disorders increase risk of subsequent erectile dysfunction in individuals without sleep apnea: A nationwide population-base cohort study. Sleep Medicine, 17, 64–68.
  8. Petersen, M., Kristensen, E., Berg, S., & Midgren, B. (2013). Long-term effects of continuous positive airway pressure treatment on sexuality in female patients with obstructive sleep apnea. Sexual Medicine, 1(2), 62–68.
  9. Pastuszak, A. W., Moon, Y. M., Scovell, J., Badal, J., Lamb, D. J., Link, R. E., & Lipshultz, L. I. (2017). Poor sleep quality predicts hypogonadal symptoms and sexual dysfunction in male nonstandard shift workers. Urology, 102, 121–125.
  10. Wilson, S. J., Jaremka, L. M., Fagundes, C. P., Andridge, R., Peng, J., Malarkey, W. B., Habash, D., Belury, M. A., & Kiecolt-Glaser, J. K. (2017). Shortened sleep fuels inflammatory responses to marital conflict: Emotion regulation matters. Psychoneuroendocrinology, 79, 74–83.
  11. Lastella, M., O’Mullan, C., Paterson, J. L., & Reynolds, A. C. (2019). Sex and sleep: Perceptions of sex as a sleep promoting behavior in the general adult population. Frontiers in Public Health, 7, 33.
تسوق القصة