พฤติกรรมการนอนของวัยรุ่นเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้

พฤติกรรมการนอนของวัยรุ่นเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้

พฤติกรรมการนอนของวัยรุ่นเป็นอย่างไร หาคำตอบได้ในบทความนี้
teenage-sleeping-habits

พฤติกรรมการนอนของวัยรุ่น

การนอนหลับพักผ่อนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของชีวิตที่มีความเกี่ยวข้องกับนาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) เเต่ในปัจจุบันรูปแบบการนอนที่ไม่ดีเเละการนอนดึกกำลังถูกฝังลึกเข้าสู่เด็กวัยรุ่นจนกลายเป็นปกติวิสัยของเด็กหนุ่มสาวซึ่งจะส่งผลกระทบกับสุขภาพเเละอาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้

 

วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตและต้องการพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆมากมาย จากผลการศึกษาวิจัยระบุว่าวัยรุ่นประมาณร้อยละ 15 ต้องการการนอนหลับพักผ่อนมากกว่าผู้คนโดยทั่วไป การนอนน้อยจะส่งผลให้เด็กวัยรุ่นต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย สมรรถภาพ ความสามารถในการเรียนรู้และอาจส่งผลให้เหนื่อยล้าหรือง่วงนอนในระหว่างวัน

วัยรุ่นต้องการเวลาในการนอนหลับพักผ่อนวันละ 8-10 ชั่วโมง จากการวิจัยชี้ว่ามีเด็กวัยรุ่นประมาณร้อยละ 15 ที่นอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมงครึ่งในวันที่ต้องเรียนหนังสือ โดยวัยรุ่นมักมีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติคือมักจะนอนดึกในช่วงสุดสัปดาห์เเละมักจะเจอกับสภาวะการนอนหลับที่ผิดปกติ เช่น โรคลมหลับ โรคนอนไม่หลับ โรคขาไม่อยู่สุขเเละโรคหยุดหายใจขณะหลับเเละงานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การนอนหลับไม่เพียงพอทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมในเชิงลบ เช่น พฤติกรรมต่อต้าน เครียด ซึมเศร้า มีภาวะน้ำหนักเกินเเละมีเเนวโน้มสูบบุหรี่

สำหรับวัยรุ่นวงจรการนอนหลับตามธรรมชาติจะเริ่มทำงานช้ากว่าเดิมเเละตื่นนอนสายกว่าช่วงวัยอื่นๆซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการผลิตฮอร์โมนของวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป โดยวัยผู้ใหญ่สมองจะผลิตเมลาโทนินออกมาประมาณ 3 ทุ่มเเละจะคงอยู่ในกระเเสเลือดประมาณ 12 ชั่วโมง ก่อนที่จะค่อยๆลดลงจนกระทั่งเวลา 9 โมงเช้าระดับเมลาโทนินในร่างกายจะลดต่ำลง เเต่จากการศึกษาพบว่าในวัยรุ่นฮอร์โมนเมลาโทนินจะถูกผลิตออกมาช้ากว่าปกติประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าอาจทำให้รู้สึกงัวเงีย มีอาการง่วงซึม ขาดสมาธิ
     

สัญญาณที่บ่งบอกว่าเด็กวัยรุ่นนอนไม่พอ

  •  เดินได้ลำบากในตอนเช้า

  • มีอารมณ์หงุดหงิดในช่วงเช้า

  • ง่วงนอนในระหว่างวัน

  • นอนตื่นสายในช่วงสุดสัปดาห์

  • ไม่ค่อยมีสมาธิหรือจดจำอะไรได้ยาก

  • ตื่นบ่อยเเละนอนหลับต่อได้ยาก


การนอนดึกได้กลายเป็นเรื่องปกติของหนุ่มสาวในปัจจุบันเเละยังพบว่าการสัมผัสกับเเสงหน้าจอเเสดงผลของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆโดยเฉพาะเเสงสีน้ำเงินที่ปล่อยออกมาจากจอเเสดงผลสมาร์ตโฟน เเท็บเล็ตเเละอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆเนื่องจากเเสงสีน้ำเงินจะมีส่วนในการขัดขวางรูปแบบการนอนหลับตามธรรมชาติของมนุษย์โดยเฉพาะในเด็กเเละวัยรุ่น

วัยรุ่นที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวันจะนอนหลับช้าลงโดยเฉลี่ย 30 นาทีเมื่อเทียบกับผู้ที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอน้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวันเนื่องจากเเสงสีน้ำเงินจะไปยับยั้งการปล่อยฮอร์โมนเมลาโทนินหรือฮอร์โมนที่ควบคุมวงจรการนอนหลับของร่างกายมนุษย์ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการปรับปรุงให้มีโหมดสำหรับกรองเเสงที่มีความยาวคลื่นสีน้ำเงินในเวลากลางคืนเเล้วแต่หลีกเลี่ยงหรือการสัมผัสกับหน้าจอแสดงผลที่มีเเสงสีน้ำเงินจะดีกว่า

วิธีที่ช่วยให้วัยรุ่นสามารถนอนพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ คือ การจัดห้องนอนให้มีบรรยากาศที่น่านอนหลับพักผ่อน เงียบสงบ จัดเวลาการนอนหลับเเละตื่นนอนอย่างเหมาะสม ทำกิจกรรมที่ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายก่อนนอนเเละการจำกัดเวลาการใช้หน้าจอควรงดการใช้หน้าจอก่อนการเข้านอนอย่างน้อย 30 นาที
พฤติกรรมการนอนที่ไม่ดีรวมถึงการนอนดึกนั้นเป็นปัญหากับสุขภาพของเด็กวัยรุ่นอาจทำให้มีอาการเหนื่อยล้าหรือง่วงนอนระหว่าวันหรืออาจจะส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้ ดังนั้นจึงควรปรับพฤติกรรมการนอนให้เหมาะสมโดยอาจจัดห้องนอนให้มีบรรยากาศการนอนให้มีเหมาะสม เงียบสงบ เลือกหมอนเเละที่นอนให้เหมาะสมกับสรีระร่างกายเเละหากิจกรรมเบาๆที่ช่วยให้ผ่อนคลายทำก่อนนอนซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น