
วิธีแก้ปวดหลังส่วนล่างของผู้หญิง? ทำไมสาวถึงปวดหลังส่วนล่างบ่อย วิธีแก้ไขแบบตรงจุด
บทนำ
ปัญหาที่สาวๆ ต้องเจอบ่อยๆคือปวดหลังส่วนล่าง แล้วปัญหานี้มันมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง? เรามาดูกัน สาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่างในผู้หญิงนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงปัจจัยทางสรีระวิทยา แม้อาการจะมาๆ หายๆบ้าง แต่หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตได้ ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับสาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่างที่สาวๆ มักเจอ และวิธีป้องกันไปดูกันเลย!
สารบัญ
บทนำ
อาการปวดหลังส่วนล่างในผู้หญิงสาเหตุที่ผู้หญิงปวดหลังส่วนล่างบ่อยเมื่อไหร่ควรรีบพบแพทย์วิธีแก้ไขอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยตัวเองเบื้องต้นใช้ชีวิตอย่างไรป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างบ่อยโรคที่พบได้บ่อยเมื่อมีอาการปวดหลังส่วนล่าง
ท้ายบทความ
อาการปวดหลังส่วนล่างในผู้หญิง

อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้หญิง โดยมักรู้สึกปวดตึงบริเวณเอวลงไปถึงสะโพก บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวลงขาร่วมด้วย ความเจ็บปวดมักทวีความรุนแรงเมื่ออยู่ในท่าเดิมนานๆ เช่น นั่งทำงานหลายชั่วโมงติดต่อกัน หรือเมื่อต้องยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่ใช้หลังมาก ผู้หญิงที่มีอาการเหล่านี้อาจพบว่าการใช้ชีวิตประจำวันเป็นเรื่องยากลำบาก การนอนหลับไม่สนิท หรือรู้สึกหงุดหงิดง่าย อาการปวดหลังส่วนล่างสามารถเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีอาการ ซึ่งแต่ละแบบต้องการการดูแลรักษาที่แตกต่างกัน ในเบื้องต้นการที่เราเข้าใจลักษณะอาการและระยะเวลาของความเจ็บปวดจะช่วยให้เราสามารถหาวิธีบรรเทาอาการได้อย่างเหมาะสม
สาเหตุที่ผู้หญิงปวดหลังส่วนล่างบ่อย

อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาที่เหล่าผู้หญิงมักเผชิญบ่อยกว่าผู้ชาย สาเหตุมาจากหลายปัจจัยทั้งทางกายภาพและพฤติกรรม ตั้งแต่โครงสร้างร่างกายที่แตกต่าง ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และวิถีชีวิตประจำวัน เรามาทำความเข้าใจถึงสาเหตุกันเพื่อที่จะช่วยให้คุณสามารถดูแลตัวเองดูว่าชีวิตเราจะปรับอะไรได้บ้าง
มาดูกันว่าอะไรบ้างที่ทำให้เราปวดหลังส่วนล่างบ่อยๆ
โครงสร้างร่างกาย
ผู้หญิงมีกล้ามเนื้อหลังที่บางกว่าผู้ชาย ทำให้รับน้ำหนักได้น้อยกว่า นอกจากนี้ ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือนก็ส่งผลต่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเอ็นด้วย
การตั้งครรภ์
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้หลังต้องรับภาระหนักขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังได้ง่าย
ประจำเดือน
ที่เป็นกันบ่อยมากๆ คือในช่วงมีประจำเดือน ฮอร์โมนในร่างกายจะแปรปรวน ทำให้กล้ามเนื้อและเอ็นอ่อนแอลง เป็นสาเหตุให้ปวดหลังได้
รองเท้าส้นสูง
การใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆ ทำให้ท่าทางการเดินผิดธรรมชาติ กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาสมดุล ส่งผลให้เกิดอาการปวดได้
พฤติกรรมไม่เหมาะสม
การนั่งหรือยืนในท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เช่น ก้มหน้าดูโทรศัพท์ หรือนั่งหลังงอ ทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานผิดปกติและเกิดอาการปวดได้
กระเป๋าสะพายหนัก
อีกอย่างที่คุณอาจคิดไม่ถึงคือ การใช้กระเป๋าสะพายที่มีน้ำหนักมาก ใส่ของไปเยอะๆ เป็นประจำทุกวัน หรือการยกของหนักบ่อยๆ ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องรับภาระเกินกำลัง เป็นสาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่างได้เช่นกัน
เมื่อไหร่ควรรีบพบแพทย์

แต่เมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น การรู้จักสังเกตอาการและตัดสินใจพบแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องอย่างทันท่วงที ก็จะทำให้อาการไม่รุนแรงหรือเรื้อรังมากยิ่งขึ้น หรือป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
อาการปวดรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
อาการปวดที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง เช่น เนื้องอก หรือการติดเชื้อ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
ปวดเรื้อรัง นานกว่า 3 เดือน
หากอาการปวดที่ไม่หายไปนานเกิน 3 เดือนถือเป็นอาการปวดเรื้อรัง อาจเกิดจากโรคข้อเสื่อม หรือปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดเช่นกัน
ปวดรุนแรงเกินกว่าที่จะใช้ชีวิตปกติได้
เมื่ออาการปวดส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรปกติได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีบรรเทาอาการและรักษาสาเหตุ
ปวดร้าวลงขา
อาการปวดที่ร้าวลงไปที่ขาอาจเป็นอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือภาวะเส้นประสาทถูกกดทับ
มีอาการชาหรืออ่อนแรงร่วมด้วย
อาการชาหรืออ่อนแรงที่เกิดร่วมกับอาการปวดอาจบ่งชี้ถึงปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยเพื่อรักษา
มีอาการอ่อนแรงของขา
อาการอ่อนแรงของขาอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังหรือเส้นประสาท ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวและการทรงตัว
ปวดร่วมกับมีไข้
อาการปวดที่เกิดร่วมกับไข้อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อในร่างกาย ซึ่งอาจลุกลามและเป็นอันตรายได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
นั่ง ยืน เดินไม่ได้
เมื่ออาการปวดรุนแรงจนไม่สามารถนั่ง ยืน หรือเดินได้ตามปกติ แสดงว่าอาการนั้นส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก ควรพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
อาการปวดไม่ดีขึ้นหลังรักษาด้วยตนเอง
หากรักษาตามอาการด้วยตนเองแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีอาการแย่ลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
วิธีแก้ไขอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยตัวเองเบื้องต้น
- ประคบร้อนหรือเย็นบริเวณที่ปวด
- นอนราบแผ่นหลังติดพื้นเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลัง
- ทำท่าโยคะนั่งไขว้ขา บิดเอว เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อหลัง
- นวดบริเวณที่ปวดเพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ปรับท่าทางการนั่งและยืนให้ถูกต้อง
- ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
- หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือทำงานหนักเกินไป
ใช้ชีวิตอย่างไรป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างบ่อย

การป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างเป็นเรื่องที่ทำได้ในชีวิตประจำวัน เริ่มจากการปรับท่าทางให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะนั่ง ยืน หรือยกของ ควรนั่งหลังตรงบนเก้าอี้ที่รองรับหลังดี และหมั่นลุกเดินบ้างเป็นระยะ ยืนให้น้ำหนักกระจายลงเท้าทั้งสองข้างเท่าๆ กัน เวลายกของควรย่อเข่าและสะโพกแทนการก้มหลัง นอนบนที่นอนที่พอดี ไม่นุ่มหรือแข็งเกินไป และใช้หมอนรองใต้เข่าเพื่อช่วยลดแรงกดที่หลัง การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยได้มาก โดยเฉพาะการบริหารกล้ามเนื้อหลังและแกนกลางลำตัว ยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังและต้นขาด้านหลัง รวมถึงการออกกำลังกายแบบเบาๆ อย่างเดินหรือว่ายน้ำ นอกจากนี้ การรักษาน้ำหนักตัวให้พอดีและหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงบ่อยๆ ก็ช่วยลดความเสี่ยงของอาการปวดหลังได้ด้วย การทำเช่นนี้อย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้หลังแข็งแรง และลดโอกาสเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้
โรคที่พบได้บ่อยเมื่อมีอาการปวดหลังส่วนล่าง
โรคเอ็นกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน (Acute Back Strain)
- โรคนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของอาการปวดหลังส่วนล่าง มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อหลังมากเกินไปหรือได้รับบาดเจ็บเฉียบพลัน ทําให้กล้ามเนื้อหลังอักเสบและเกิดอาการปวด ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังแต่ไม่ร้าวลงขา กล้ามเนื้อหลังจะแข็งและเกร็งทําให้แนวโค้งปกติของหลังหายไป เมื่อกดบริเวณกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังจะรู้สึกเจ็บ โดยทั่วไปอาการจะดีขึ้นเองภายใน 1-2 สัปดาห์ ทําให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้มาพบแพทย์
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท (Lumbar Disc Herniation)
- โรคนี้มักพบในผู้ป่วยอายุไม่เกิน 50 ปี และมักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหลังจากการยกของหนักหรือหมุนตัวผิดท่า เมื่อหมอนรองกระดูกแตกและเคลื่อนไปกดทับเส้นประสาท จะทําให้ผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงขา ร่วมกับอาการชาและอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาการปวดมักจะรุนแรงและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจําวันอย่างมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อไอ จาม หรือเบ่ง
โรคช่องบรรจุไขสันหลังตีบ (Spinal Stenosis)
- โรคนี้มักพบในผู้สูงอายุ เกิดจากการเสื่อมของกระดูกสันหลังและข้อต่อ ทําให้ช่องทางเดินของเส้นประสาทแคบลง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังร้าวลงขา ร่วมกับอาการชาหรืออ่อนแรงที่น่องเมื่อเดินไกล แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อนั่งพักเพียงไม่กี่นาที ลักษณะเฉพาะของโรคนี้คือ อาการจะค่อยเป็นค่อยไป บางรายอาจใช้เวลาเป็นปีกว่าอาการจะชัดเจน ผู้ป่วยมักจะรู้สึกสบายขึ้นเมื่อนั่งหรือก้มตัวไปข้างหน้า เนื่องจากท่าดังกล่าวช่วยขยายช่องทางเดินของเส้นประสาท
ท้ายบทความ
ผู้เขียนเชื่อว่าการที่เราทำความเข้าใจในร่างกายตัวเองมากยิ่งขึ้นแล้ว เราก็จะพบเจอวิธีในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับร่างกายเรา จากเนื้อหาทั้งหมดจะเห็นว่าใดๆแล้วปัญหาปวดหลังส่วนล่าง ส่วนใหญ่แล้วมักจะมาจากวิธีใช้ชีวิตของเรา และแน่นอนผู้เขียนเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพในการเอาชนะอาการเจ็บปวดนี้ได้แน่นอน อยากจะฝากให้กำลังกับทุกคนที่เจอกับอาการเจ็บปวด อยากจะบอกว่าทุกปัญหามีทางออกเสมอ ให้เราค่อยๆ สังเกตตัวเองว่าใช้ชีวิตอะไรที่ส่งผลต่ออาการปวดหลังส่วนล่างบ้าง แล้วค่อยๆ แก้ปัญหากันไป ขอให้ทุกคนหายจากอาการเจ็บปวด!!