เล่นมือถือนานเสี่ยง ‘เอ็นข้อมืออักเสบ’ 

เล่นมือถือนานเสี่ยง ‘เอ็นข้อมืออักเสบ’ 

เล่นมือถือนานเสี่ยง ‘เอ็นข้อมืออักเสบ’ 
เล่นมือถือนานเสี่ยงเอ็นข้อมืออักเสบ: อาการและคำแนะนำในการป้องกัน

ใครที่เล่นมือถือหรือแท็บเลตบ่อย ๆ อาจจะต้องลดเวลาเล่นลงหรือหากิจกรรมอย่างอื่นแทรกบ้าง เพราะหากเล่นนาน ๆ เสี่ยงมีอาการปวดตามมาด้วย หนักเข้าเอ็นข้อมืออักเสบจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน วันนี้ mr.big จะพามาทำความรู้จักกับโรคเอ็นข้อมืออักเสบกันครับ 

รู้หรือไม่? โรคเอ็นข้อมืออักเสบเป็นโรคป่วยทางข้อมือที่พบเจอบ่อยที่สุด 

เอ็นข้อมืออักเสบ คืออะไร 

เอ็นข้อมืออักเสบ เป็นหนึ่งโรคในกลุ่มเอ็นและปลอกหุ้มข้อมือ (De Quervain’s Tenosynovitis) ซึ่งเกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มข้อเส้นเอ็น และเส้นเอ็นบริเวณตรงโคนนิ้วหัวแม่มือ ทำให้เกิดอาการปวดบวมบริเวณโคนนิ้วหัวแม่มือ มีโอกาสพบเจอในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 

เอ็นข้อมืออักเสบ อาการแบบไหน  

  • เอ็นข้อมืออักเสบในระยะแรกเริ่มจะมีอาการปวด ขยับหรือใช้มือ ใช้นิ้วได้ไม่คล่องแคล่วหรือยืดหยุ่นอย่างที่เคย แต่ถ้าเกิดมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน 
  • บริเวณที่ปวดเริ่มมีอาการบวมแดงและร้อนร่วมด้วย 
  • มีอาการชาหรือเสียวแปล็บ ๆ บริเวณนิ้วมือ มือหรือบริเวณแขนร่วมด้วย 
  • มีอาการปวดอย่างเฉียบพลันเป็นอย่างมากที่บริเวณ นิ้วมือ มือหรือบริเวณแขน 
  • ปวดเรื้อรังหลายวัน ไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นหลังพักการใช้งานหรือรับประทานยา 

พฤติกรรมแบบไหน เสี่ยงเป็นเอ็นข้อมืออักเสบ 

  • การเล่นมือถือนาน ๆ ก็เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เป็นเอ็นข้อมืออักเสบ แต่ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอื่น ๆ ที่ผู้อ่านควรระมัดระวังต่อไปนี้ 
  • ใช้งานคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็คโทรนิกส์เป็นเวลานาน 
  • กิจกรรมที่ใช้แรงบีบนิ้วโป้งมาก ๆ เช่น การใช้กรรไกร การซักผ้าด้วยมือ ทำอาหาร 
  • การเล่นกีฬาที่ใช้ข้อมือหนัก เช่น แบดมินตัน เทนนิส ปิงปอง 

หากเลี่ยงไม่ได้จะรักษาอาการได้อย่างไร 

  • เริ่มต้นจากการพักใช้งาน 
  • แช่มือลงในน้ำอุ่นประมาณ 15 – 30 นาที วันละ 1-2 ครั้ง เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด 
  • หากยังไม่ดีขึ้นอาจจะลองรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด

เปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันเอ็นข้อมืออักเสบได้ง่าย ๆ 

  • เปลี่ยนวิธีการทำงาน หรือลดระยะเวลาการทำกิจกรรมที่ใช้ข้อมือหนัก ๆ ในท่าเดิมซ้ำ ๆ  
  • หลีกเลี่ยงการยกของหรือหิ้วของหนัก หากจำเป็นต้องมีระยะการหยุดพักเพื่อไม่ให้เกิดการบาดเจ็บในภายหลัง 
  • ฝึกยืดเส้นยืดสายข้อมือด้วยการทำท่ากายบริหารเอ็นข้อมืออักเสบเพื่อลดการอักเสบของข้อมือ 

 

อ้างอิง 

Nie, X., Huang, L., Hou, J., Dai, A., He, L., Zheng, P., Ye, Z., Zhang, S., Zhou, G., Zhang, J., & Hua, Q. (2023). Smartphone usage behaviors and their association with De Quervain’s Tenosynovitis (DQT)among college students: a cross-sectional study in Guangxi, China. BMC Public Health, 23(1). https://doi.org/10.1186/s12889-023-16808-z   

(N.d.). Circlehealthgroup.co.uk. Retrieved June 14, 2024, from https://www.circlehealthgroup.co.uk/treatments/de-quervains-tenosynovitis   

Bumrungrad Orthopaedics Center (2021). De Quervain’s Tenosynovitis.. Retrieved June 1, 2024, from https://www.bumrungrad.com/en/health-blog/january-2021/de-quervains-disease